บุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศ (Foreign PEPs) คือบุคคลที่ดำรงตำแหน่งสาธารณะสำคัญในต่างประเทศหรือเคยดำรงตำแหน่งดังกล่าว เนื่องจากอิทธิพลและการเข้าถึงทรัพยากรของรัฐ บุคคลดังกล่าวนั้นจึงมีความเสี่ยงอย่างมากในหลาย ๆ ด้าน เช่น การทุจริต การฟอกเงิน และอาชญากรรมทางการเงิน เนื่องจากสถาบันการเงินและธุรกิจต่างๆ ดำเนินธุรกรรมข้ามพรมแดน การระบุและจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงไว้ซึ่งการปฏิบัติตามกฎระเบียบและยังเป็นการป้องกันกิจกรรมทางการเงินที่ผิดกฎหมายอีกด้วย
สำหรับประเทศไทยแล้ว กิจการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงจากบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศ (Foreign PEPs) จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยที่ สถาบันการเงินไทยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในและระดับสากลเพื่อป้องกันมิให้เกิดการประพฤติมิชอบทางการเงินที่มีส่วนพัวพันกับบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศ (Foreign PEPs) บทความนี้จะจำแนกประเภท บรรดาความเสี่ยง กรอบการกำกับดูแล ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการบรรเทาความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศ (Foreign PEPs)
คำจำกัดความและการจำแนกประเภทของบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศ (Foreign PEPs)
คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (Financial Action Task Force: FATF) ให้นิยามของบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEPs) ว่าเป็นบุคคลที่ดำรงตำแหน่งสาธารณะที่สำคัญ เช่น ประมุขแห่งรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่ตุลาการ ผู้นำทหาร และผู้บริหารหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศ (Foreign PEPs) หมายถึงบุคคลที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวนอกเขตอำนาจที่สถาบันการเงินหรือธุรกิจดำเนินการ (FATF 2023)
บุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองสามารถจำแนกประเภทได้ดังต่อไปนี้
1. เจ้าหน้าที่ของรัฐและนักการเมือง
2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายตุลาการและเจ้าพนักงานบังคับใช้กฎหมาย
3. เจ้าหน้าที่ทหารระดับสูง
4. ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ (State-Owned Enterprise Executives: SOE)
5. สมาชิกในครอบครัวและผู้ใกล้ชิด
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (Foreign PEPs)
บุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศเป็นศูนย์กลางของปัญหาอาชญากรรมทางการเงินระดับโลกเนื่องจากอิทธิพลและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจำนวนมากของพวกเขา ซึ่งความเสี่ยงหลัก ๆ ได้แก่:
1. การทุจริตและการให้สินบน
การทุจริตหรือการฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศ โดยที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงจำนวนมากมีส่วนร่วมในแผนการให้สินบนเพื่อบิดเบือนสัญญาและการเงินสาธารณะของรัฐ ตามข้อมูลขององค์กรเพื่อความโปร่งใสระหว่างประเทศ (Transparency International) ระบุว่าการติดสินบนในการทำธุรกิจกับต่างประเทศเป็นปัญหาที่แพร่หลาย โดยเฉพาะในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น การก่อสร้าง การป้องกันประเทศ และด้านพลังงาน (Transparency International 2023)
2. การฟอกเงินและการไหลบ่าของกระแสเงินทุนที่ผิดกฎหมาย
บุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศ อาจใช้บัญชีนอกประเทศ (offshore accounts) บริษัทนอกกฎหมาย (shell companies) และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อฟอกเงินที่ได้มาอย่างผิดกฎหมาย โดยที่สถาบันการเงินที่ไม่มีมาตรการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดรัดกุมพอ อาจอำนวยความสะดวกให้กับกิจกรรมเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้ ธนาคารโลกรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่ต่างประเทศที่ทุจริต ด้วยการให้ความร่วมมือในการเคลื่อนย้ายเงินทุนจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์ทุกปีผ่านระบบการเงินระหว่างประเทศ (World Bank 2023)
3. การยักยอกทรัพย์และการฉ้อโกง
บุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศจำนวนมากมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์สิน โดยได้ทำการยักย้ายทรัพยากรสาธารณะไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งเงินทุนเหล่านี้มักจะถูกนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ สินค้าฟุ่มเฟือยและอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ระบุถึงกรณีต่าง ๆ ที่เจ้าหน้าที่ต่างประเทศโอนเงินของรัฐบาลที่ขโมยมาผ่านธุรกรรมทางธนาคารระหว่างประเทศ (IMF 2023)
4. การหลีกเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตร
บุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศที่มาจากประเทศที่ถูกนานาชาติคว่ำบาตร มักพยายามหลีกเลี่ยงข้อจำกัดโดยใช้ตัวแทนหรือข้อตกลงทางการเงินที่ไม่เปิดเผยรายละเอียด ดังนั้นการมีส่วนพัวพันกับบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศดังกล่าว อาจส่งผลให้ธุรกิจและสถาบันการเงินถูกปรับและต้องรับโทษทางกฎหมาย (OFAC 2023)
5. การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
บุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคที่ไม่มั่นคงทางการเมือง มีส่วนเกี่ยวข้องกับเครือข่ายการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย สถาบันการเงินที่ไม่ดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงที่เหมาะสม (proper due diligence) มีความเสี่ยงโดยไม่รู้ตัวในการอำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกรรมที่สนับสนุนองค์กรหัวรุนแรงแบบสุดโต่ง (FATF 2023)
กรอบการกำกับดูแลที่ควบคุมบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศ
เนื่องจากบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศมีความเสี่ยงสูง สถาบันการเงินจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการปฏิบัติตามกฎหมายที่เข้มงวด โดยที่กรอบการกำกับดูแลที่สำคัญ ได้แก่
1. แนวทางปฏิบัติของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (FATF Guidelines)
2. มาตรการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงที่เข้มข้นขึ้น (Enhanced Due Diligence Measures)
3. การเฝ้าติดตามตรวจสอบธุรกรรมอย่างต่อเนื่อง
4. การฝึกอบรมการปฏิบัติตามกฎหมายและการปรับปรุงกฎระเบียบให้เป็นปัจจุบัน
บทสรุป
บุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศ ถือเป็นความเสี่ยงที่สำคัญสำหรับบรรดาสถาบันการเงินและภาคธุรกิจต่าง ๆ เนื่องจากบุคคลดังกล่าวอาจมีส่วนเกี่ยวข้องพัวพันกับการทุจริตฉ้อราษฎ์บังหลวง การฟอกเงิน และการหลีกเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตร โดยที่ภาคการเงินของไทยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อให้สามารถบรรเทาความเสี่ยงเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ องค์กรต่างๆ สามารถมั่นใจได้ว่าปฏิบัติตามมาตรฐานด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินระดับนานาชาติโดยการใช้มาตรการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงที่เข้มข้นขึ้น ตลอดจนการนำเครื่องมือคัดกรองอัตโนมัติมาปรับใช้ และการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็เป็นการป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงและการเงินของตน
ในขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลยังคงเข้มงวดในด้านการบังคับใช้มาตรฐานด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ภาคธุรกิจต่าง ๆ ก็จำต้องเฝ้าระวังและดำเนินการเชิงรุกในการจัดการความเสี่ยงของบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศ เพื่อรักษามั่นคงความปลอดภัยทางการเงิน
Works Cited
AMLO. Thailand’s Anti-Money Laundering Office Guidelines on PEPs. 2023.
Bank of Thailand. Foreign PEP Risk Management Framework. 2023.
European Commission. EU Regulations on Politically Exposed Persons. 2023.
FATF. Guidelines on Politically Exposed Persons and Financial Compliance. 2023.
IMF. Corruption and Money Laundering Among Foreign PEPs. 2023.
OECD. Managing Risks Associated with Foreign Officials in Global Finance. 2023.
OFAC. U.S. Treasury Sanctions and Foreign PEP Compliance. 2023.
Transparency International. Global Corruption Risks and Foreign Political Figures. 2023.
World Bank. Financial Institutions and Foreign PEP Risk Management. 2023.